วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

เนื้อหาที่ 4 เทคนิคในการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

เนื้อหาที่ 4 เทคนิคในการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เทคนิคในการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย การวางแผนการจัดประสบการณ์ทางภาษาควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าการจัดประสบการณ์ มีความหมายที่กว้างกว่าการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ แต่เป็นการจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษา และควรทำความเข้าใจด้วยว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับการรู้หนังสือ (Literacy) การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องวางแผนให้ครอบคลุมทั้งเรื่องภาษาและการรู้หนังสือในระยะแรกเริ่ม โดยแผนดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือของเด็ก และมีลักษณะบูรณาการ ให้เด็กได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมายเป็นรายบุคคล การกำหนดสาระการเรียนรู้ที่ใช้สำหรับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 1. ประสบการณ์สำคัญด้านการใช้ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้ 1.1 การฟัง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทักษะหลายทักษะและมีลักษณะของการฟังที่หลากหลาย มาชาโด (Machado, 1999: 187) กล่าวว่า การฟังที่เด็กควรมีประสบการณ์มี 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) การฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน (Appreciative Listening) ซึ่งเด็กควรมีโอกาสฟังตามวิธีนี้ทั้งจากการฟังเพลง กลอน หรือเรื่องราวต่างๆ (2) การฟังอย่างมีวัตถุประสงค์ (Purposeful Listening) เด็กควรมีโอกาสได้ฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ฟัง (3) การฟังเพื่อจำแนกความแตกต่าง (Discriminative Listening) เด็กควรมีโอกาสฟัง และแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจำแนกความต่างของการเปลี่ยนแปลงของเสียง (4) การฟังอย่างสร้างสรรค์ (Creative Listening) เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมกับประสบการณ์ที่ได้ฟัง ซึ่งจะทำให้เด็กมีการแสดงออกด้วยคำพูด หรือการกระทำอย่างอิสระตามธรรมชาติ (5) การฟังแบบวิเคราะห์ (Critical Listening) เด็กควรได้ทำความเข้าใจ ประเมิน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ฟัง โดยมีครูเป็นผู้ตั้งคำถามให้เด็กคิดและตอบสนอง 1.2 การพูด เป็นวิธีการพื้นฐานที่เด็กช่วยให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาการคิดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วย เด็กควรมีประสบการณ์สำคัญด้านการพูด (กรมวิชาการ, 2546: 37; Machado, 1999: 327) ดังนี้ (1) การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการด้วยคำพูด (2) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง (3) การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (4) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น หรือการแก้ปัญหา (5) การเชื่อมโยงการพูดกับท่าทาง หรือการกระทำต่างๆ (6) การมีประสบการณ์ในการรอคอยจังหวะที่เหมาะสมในการพูด 1.3 การอ่าน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการอ่านหลายรูปแบบ ผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่านเครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ 1.4 การเขียน เด็กปฐมวัยควรมีประสบการณ์สำคัญในการเขียนหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัวอักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย ที่มา : http://www.nareumon.com/index.php?option=com สรุป การจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษา ถือเป็นกิจกรรมที่ต้องพัฒนาทักษะในการใช้ภาษาของเด็ก ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีความสนใจและความสามารถของเด็ก โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้สามารถพัฒนาได้ตรงตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม และใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องต่อไป

เนื้อหาที่ 3 กับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาที่ 3 กับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งในอดีตการเรียนรู้ภาษาไทยเพียงภาษาเดียวอาจเพียงพอต่อการสื่อสาร แต่ในปัจจุบันนี้การรู้ภาษาไทยเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องจากโลกได้มีการสื่อสารและมีการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เช่น อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ทำให้โลกแคบลงและมีการสื่อสารที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังน้ำเขียวได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้โอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแก่เยาวชนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการศึกษาเรื่องของการพัฒนาการของสมอง ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเด็กเล็ก หรือที่เรียกว่า เด็กปฐมวัยเป็นช่วงโอกาสที่ดีในการพัฒนาทักษะ โดยเฉพาะด้านภาษา เป็นช่วงที่เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด ตามทฤษฎีของ Brain Based Learning ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Window of Opportunity หรือหน้าต่างแห่งโอกาสการเรียนรู้ แต่สิ่งที่สำคัญในการสร้างทักษะ ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าวิธีการที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และเป็นผลบวกต่อทัศนคติการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นรากฐานให้เกิดการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจัดให้มีการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัยขึ้น โดยมีภาษาอังกฤษวันละคำให้เด็กได้เรียนรู้คำภาษาอังกฤษจากภาพที่น่าสนใจ และเป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยและพบในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเด็กเล็ก คำที่ครูสอนให้เด็กได้เรียนรู้จะเป็นคำภาษาอังกฤษที่สั้น ๆ ง่าย เพื่อส่งเสริมการจดจำให้กับเด็ก สอนบทสนทนาโต้ตอบสั้น ๆ การทักทาย และการบอกชื่อ โรงเรียนของตนเอง นอกจากนี้ครูได้เชิญวิทยากรชาวต่างชาติมาพบปะพูดคุยกับเด็ก เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างของของคนไทยและชาวต่างชาติอย่างแท้จริง อาจเป็นในเรื่องของรูปร่าง หน้าตา สีผิว สีผม การแต่งกาย การใช้ชีวิตประจำวัน และภาษาในการพูดของไทย และชาวต่างชาติ เด็กก็จะได้ซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เด็กได้เห็น สำหรับเด็กเล็กบางคนอาจไม่เคยเห็นชาวต่างชาติก็ได้เห็น เด็ก ๆ ชอบการเรียนภาษาอังกฤษมากพูดและจดจำได้ดี เด็ก ๆ ตื่นเต้นที่ได้พบชาวต่างชาติ และไม่คิดว่าเป็นบุคลแปลกหน้าสำหรับพวกเขาเลย ครูคิดว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน เพราะชาวต่างชาติได้แวะเวียนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้เด็กเล็ก และคนไทยทั้งประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อมีโอกาส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้าน วังน้ำเขียวอยากเชิญชวนให้ชาวไทยทุกท่านช่วยสร้างเยาวชนตัวน้อยในวันนี้ให้เป็นผู้ใหญ่ในวันหน้าที่เก่งภาษาอังกฤษเพื่อนำประเทศไทยให้ก้าวล้ำเท่าเทียบประเทศอื่น เราตั้งใจออกแบบคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3 (และชั้นอนุบาล 2 สำหรับสาขาเชียงใหม่) อายุระหว่าง 5-6 ปี มาโดยเฉพาะ เพื่อปูพื้นฐานทักษะที่แข็งแกร่งทั้ง 4 คือ ฟัง พูด อ่านและเขียน ของเด็กๆ ให้ได้เริ่มต้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยวิธีการสอนจากอาจารย์คุณภาพของเรา ร่วมกับการใช้อุปกรณ์การเรียนและกิจกรรมสนุกสนานหลากหลายที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ ได้มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การสอนแบบ Jolly Phonics, การร้องเพลง, เกมส์และการทายคำศัพท์ ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กๆ จะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ภาษาอังกฤษ Jolly Phonics คืออะไร Jolly Phonics คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ สามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนานกับการเรียนในขณะเดียวกัน ระบบการสอนนี้จะเน้นให้เด็กๆ เรียนรู้เสียงของตัวอักษร ผ่านการแสดงท่าทางด้วยสื่อหลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็ก เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถเปล่งเสียงออกมาได้แตกต่างกัน 42 เสียง จากการแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวหรือนิทานที่น่าสนใจ ทำให้เด็กๆ สนุกไปกับการเรียนและสามารถจดจำเสียงของตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้การผสมเสียงเพื่อสร้างเป็นคำต่างๆ ได้มากมาย การเรียนด้วยวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของเด็กๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่น้องๆ จะได้เรียนรู้จากคอร์สนี้ เรียนรู้การอ่าน เขียน และการออกเสียงผ่านการสอนแบบ Jolly Phonics ที่ทั้งสนุกและมีประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กอนุบาล ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนาน ผ่านหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเล่นเกมส์ การร้องเพลง หรือการทายคำศัพท์ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และหลักการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องผ่านการฟังนิทานและเรื่องเล่าสำหรับเด็ก สนุกสนานกับการเรียนภาษาอังกฤษในบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ กับอาจารย์เจ้าของภาษาที่ผ่านการรับรองและมีประสบการณ์การสอนเด็กนักเรียนมาโดยเฉพาะ ผลการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาทักษะทางการอ่านและการเขียนอย่างเป็นธรรมชาติ ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นในการสื่อสาร โดยเฉพาะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ เพิ่มคลังคำศัพท์ให้มากขึ้น สามารถใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่ นยำและถูกต้อง อ้างอิง https://www.britishcouncil.or.th/english/children/kindergarten สรุป ความรู้เบื้องต้นภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้เด็กเกิด การเรียนรู้ตามความสนใจ ในชีวิตประจำวัน จากคำศัพท์ง่าย ๆ หรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวที่เด็กมองเห็น

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หลักการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย
            การสอนภาษาอังกฤษนับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะตามแนวนโยบายการเตรียมความพร้อม.เด็กสุ่ประชาคมอาเซียนที่มุ่เน้นการให้เด็กใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคนต่างชาต่างวัฒนธรรมอื่น.. อย่างไรก็ตาม แนวการสอนภาษาอังกฤาสสำหรับเด็กควรคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยและความสามารถในการรับรู้ของเด็กเป็นสำคัญ ซึ่งตามหลักพัฒนาการของเด็กวัยอนุบาลนั้น เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้จากความสนใจเป็นหลัก (Emotional-based Learning) การเรียนรู้จากการเล่น การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้ใหญ่ ผ่านแนวการสอนแบบ Whole Language ที่เน้นการจดจำโครงสร้างรูปคำ (Word-shape Recognition) จะนำไปสู่ความสนุกสนาน ความรู้สึกอยากติดตาม และที่สำคัญเกิดการจดจำและสามารถเชื่อมโยงการใช้คำศัพท์ที่เรียน สู่ชีวิตประจำวัน




เทคนิคการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กวัยอนุบาล 

1. การเลือกคำศัพท์ ควรจัดคำศัพท์ให้อยู่ในหมวดป็นต้น
2. วิธีการสอน เน้นให้เด็กได้ฝึกการใช้ศัพท์ การสอนศัพท์เพียงครั้งเดียวไม่พอ จะต้องทบทวนบ่อยๆ ด้วยวิธีการอันหลากหลาย เพื่อมิให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย และควรหมั่นทบทวนบ่อยๆ เพราะถ้าศัพท์ที่สอนไปแล้วไม่ได้ใช้ เด็กก็อาจลืมได
3. การสอนคำศัพท์ใหม่ การสอนศัพท์ใหม่ ควรสอนให้ผ่านประสาทสัมผัสให้มากที่สุด โดยใช้รูปแบบประโยคหรือศัพท์ที่เด็กเคยเรียนรู้มาแล้ว โดยมีคำที่เป็นศัพท์ใหม่ปนอยู่เพียงคำเดียว แล้วให้เดาความหมายของคำศัพท์นั้น วิธีนี้จะทำให้นักเรียนจำความหมายได้ดีกว่าแบบบอกตรงๆ
4. การเชื่อมโยงคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย การแปลความหมายของศัพท์เป็นภาษาไทยตรงๆ ควรทำต่อเมื่อเห็นว่าไม่อาจใช้วิธีอื่นที่ดีกว่า เหมาะสมกว่า การให้ความหมายของคำในภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยนั้น ไม่เสียหายอะไร แต่การแปลแบบคำต่อคำจะทำให้แปลไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่
5. สื่อประกอบการสอน ควรใช้สื่อของจริงมาประกอบในการสอนคำศัพท์ใหม่ ให้ตัวอย่างแก่เด็กให้มากเพื่อให้เด็กใช้ตัวอย่างนั้นๆ มาทำความเข้าใจ
6. การปฏิบัติต่อเด็ก เวลาตอบให้เด็กตอบเป็นกลุ่มก่อน เพื่อให้เด็กคนอื่นๆได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ไม่ควรแบ่งกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน พยายามให้เด็กเกิดการโต้ตอบอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ควรคาดคั้นเด็กที่ตอบไม่ได้ ให้ตอบให้ได้ แต่พยายามช่วยเหลือเด็กโดยการแนะเป็นแนวทางไปเรื่อยๆแทน

ลำดับขั้นในการสอนศัพท์ขั้นพื้นฐาน
1. ครูออกเสียงคำศัพท์ทีละคำ 2-3 ครั้ง อย่างชัดเจน
2. ครูให้ความหมายของคำศัพท์ด้วยการใช้สื่ออุปกรณ์ หรือแสดงท่าทางประกอบให้เด็กลองเดาดูก่อน
3. ครูพูดตัวอย่างประโยคประกอบด้วยคำศัพท์นั้นซ้ำๆ 2-3 ครั้ง โดยให้เด็กลองหัดฟังและพูดไปด้วย
4. ครูทบทวนคำศัพท์ที่สอนผ่านกิจกรรมการร้องเพลง เล่านิทาน หรือ เปิดโอกาศให้เด็กได้เล่นเกมทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ที่เรียนมา เพื่อเป็นการทบทวนหรือเรียนรู้ซ้ำ
           การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษในระดับเด็กอนุบาล สามารถสอนได้หลายวิธีการ เช่น เพลง เกม นิทาน ดังต่อไปนี้

รูปแบบการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                 การสอนภาษอังกฤษสามารถสอนได้ในหลานรูปแบบ ในที่นี้ยกตัวอย่างใน 3 รูปแบบ คือ การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านนิทาน การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเพลง การสอนภาษาอังกฤษผ่านเกม
 1. การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านนิทาน 
นิทานจัดว่าเป็นสื่อที่ดีเหมาะที่จะนำไปสอนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะนิทานประกอบภาพ เพราะภาพและเนื้อเรื่องในนิทานถือเป็นการจำลองเรื่องราว เหตุการณ์ในโลกกว้างเป็นเรื่องราวสั้นๆ ง่ายๆ สำหรับเด็ก เนื้อเรื่องน่าสนใจพร้อมภาพประกอบช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงคำศัพท์กับรูปภาพและตัวอักษร ทำให้เด็กนอกจากจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีคติสอนใจ แล้วยังเป็นการสร้างประสบการณ์ในการฟังสิ่งที่
ออกจากปากผู้เล่าจริงๆ ทั้งความสามารถในการออกเสียง การจดจำโครงสร้างรูปคำและการรู้วิธีการนำไปใช้ในการสนทนา อันจะนำปสู่การรักการอ่านเด็กๆ และเกิดสนใจอยากเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ มากขึ้น

เทคนิคการใช้นิทานเพื่อสอนภาษาอังกฤษ   
1) การเล่านิทาน นิทานที่จะเลือกควรเป็นนิทานที่มีคำสั้นๆ เน้นนิทานที่มีภาพประกอบ อาจเป็นนิทานเน้นสอนคำศัพท์ หรือนิทานที่เป็นเรื่องที่เด็กสามารถมีกิจกรรมและมีส่วนร่วมกับเรื่องได้ดีตามความสนใจของเด็ก มีการใช้ภาษาที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของเด็ก เนื้อเรื่องมีการใช้คำศัพท์ซ้ำ ใช้คำคล้องจอง และมีรูปแบบประโยคที่เข้าใจง่าย เรื่องราวไม่ซับซ้อน
2) การเล่านิทาน ก่อนการเล่านิทาน ควรพูดคุยกับเด็กในหัวข้อที่เกี่ยวกับนิทานอาจเป็นประสบการณ์ของครูเองหรือของเด็กคนใดคนหนึ่งในห้อง และเน้นการจดจำคำศัพท์และสำนวนของภษาต่างประเทศ ด้วยการใช้คำซ้ำ สร้างบรรยากาศของการใช้สำนวนของเจ้าของภาษา เช่น ให้เริ่มต้นการเล่านิทานด้วยการบอกเด็กเป็นประโยคภาษาอังกฤษ เช่น I’m going to tell you a story about …….หรือ Once upon the time…...เพื่อเด็กจะสามารถจำรูปแบบการเล่านิทานจากครูได้โดยไม่ต้องสอน
ใช้น้ำเสียงให้เหมาะกับเรื่องและอารมณ์ของตัวละครที่สวมบทบาทอยู่ มีการใช้เสียงสูง ต่ำ เป็นจังหวะ โดยเมื่อถึงจุดสำคัญของเรื่องควรเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม เช่นการตั้งคำถามเป็นภาษาอังกฤษในขณะที่เด็กกำลังอยู่ในอารมณ์ร่วมอยู่ โดยอาจใบ้เป็นท่าทางตามเรื่องเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานมากขึ้น
ควรใช้ท่าทางและสีหน้าประกอบการเล่า และพยายามให้เด็กมีโอกาสทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหว โดยอาจให้เด็กทำท่าทางตามตัวละครในเนื้อเรื่อง โดยมีครูเป็นผู้ออกเสียง พูดประโยคตามท่าทางนั้นๆ อย่างช้าๆ เพื่อให้เด็กจำท่าทางและสำเนียงของภาษา พร้อมกับความเพลิดเพลิน นอกจากนี้นักเรียนยังเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา ทำให้การเรียนรู้สนุกมากยิ่งขึ้น
ครูสามารถใช้เกมเพื่อเป็นการทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับนิทาน มาต่อยอดทำกิจกรรมที่หลากหลายขึ้นเพื่อให้เด็กเข้าใจและคุ้นเคยกับภาษาและคำศัพท์ในเนื้อเรื่อง ครูสามารถเล่าซ้ำหรือทบทวนอยู่เสมอ
3) การจัดการชั้นเรียน ครูอาจจะลองจัดที่นั่งให้เด็กใหม่ให้เด็กลงมานั่งที่พื้นล้อมรอบตัวครู หรือ ออกไปเล่านิทานกลางแจ้งใต้ร่มไม้ เพื่อสร้างบรรยากาศแปลกใหม่และพิเศษ
4) สื่อประกอบการเล่านิทาน ควรหาอุปกรณ์และสื่อที่ดึงดูดให้เด็กสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชั่วโมงนั้นๆ เช่น การนำเพลงมาใช้ประกอบเนื้อเรื่องมาเปิด เพื่อใช้เสียงเพลงกระตุ้นความรู้สึกของเด็กอาจให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะหรือแสดงท่าประกอบคำศัพท์ในเพลงอย่างง่ายหรืออาจใช้เทคนิค Finger Play มาสอนคำศัพท์ในนิทาน การนำตุ๊กตามาสมมุติเป็นตัวละคร การจัดทำฉากนิทาน3มิติ


2. การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเพลง เพลงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถใช้เพลงสอดแทรกเข้าไปในบทเรียนหรือในขณะดำเนินการสอนทุกขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสอดคล้องในเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ธรรมชาติของเด็กชอบการเล่นสนุกสนาน ต้องการแสดงออก และการร้องเพลงอยู่แล้ว หากครูผู้สอนได้นำเพลงภาษาอังกฤษมาประกอบการเรียนการสอน ให้บทเรียนมีความหมาย น่าสนใจและสนุกสนานมีชีวิตชีวา ย่อมจะช่วยให้การสอนภาษาอังกฤษมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่จำกัดอยู่แค่การจดจำกฎเกณฑ์เพียงอย่างเดียว เป็นการทบทวนเนื้อหาได้เรียนรู้ไปแล้ว ให้ผู้เรียนจดจำได้ดียิ่งขึ้น และปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ



เทคนิคการใช้เพลงเพื่อสอนภาษาอังกฤษ     
1) การเลือกเพลง 
1. เพลงนั้นต้องไม่ยาวเกินไป เพลงควรมีทำนอง คำร้องที่ชัดเจน และไม่ยาวจนเกินไป 2. เพลงควรมีทำนองที่ซ้ำกัน ซึ่งเป็นการง่ายต่อการเรียน 3. เนื้อหาควรถูกต้องตามไวยากรณ์ เช่น Subject Verb, Agreement และ Word Order 4. เลือกเพลงให้เหมาะสมกับอายุและระดับชั้นของผู้เรียน ดังนั้น ก่อนการนำเพลงมาใช้ประกอบการเรียนการสอน จึงควรพิจารณาลักษณะของเพลงว่าเหมาะสมเพียงไร
2) ลำดับขั้นตอนการสอนเพลง 
1. ครูอธิบายสั้นๆให้นักเรียนเข้าใจ เป็นบทเพลงเกี่ยวกับอะไร ครูอาจใช้อุปกรณ์การสอนช่วยแสดงความหมายของคำศัพท์บางคำที่นักเรียนไม่เคยเรียนมาก่อน
2. ครูร้องให้นักเรียนฟัง 1-2 จบ
3. ครูร้องนำ 1 หรือ 2 บรรทัด ให้นักเรียนร้องตามเมื่อแน่ใจว่านักเรียนร้องได้ถูกต้องทั้งคำร้องและทำนองจึงร้องนำบรรทัดต่อไป โดยร้องทวนบรรทัดต้นๆก่อนทุกครั้ง
4. ครูร้องพร้อมกับนักเรียนตั้งแต่ต้นจนจบ ถ้าเนื้อเพลงยาวและมีคำยาก ครูอาจเขียนเนื้อเพลงให้นักเรียนดูในขั้นตอนก็ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเขียนเนื้อเพลงให้นักเรียนดูก่อน เพราะจะทำให้นักเรียนเป็นกังวลต่อการอ่านหรือสะกดตัวมากไป 
5. ครูเขียนเนื้อเพลงให้นักเรียนอ่านและคัดลอกลงในสมุด
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การสอนเพลงให้ถูกวิธีต้องปฏิบัติอย่างมีขั้นตอน ครูผู้สอนต้องวางแผน เตรียมสื่ออุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมโดยเฉพาะตัวครูเอง ต้องมีความพร้อมเป็นอับดับแรก อย่างไรก็ตามก่อนการร้องเพลงทุกครั้งต้องไม่ลืมที่จะบอกผู้เรียนว่าเพลงนั้นๆเป็นคำร้องและทำนองของใคร(ถ้าทราบเพื่อให้เกียรติผู้แต่งคำร้องและทำนองนั่นเอง
3) การจัดการเรียนการสอน ในการสอนเพลงภาษาอังกฤษ ไม่ใช่แต่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถร้องเพลงได้ถูกต้องทั้งคำร้อง ทำนองและจังหวะเท่านั้น แต่ครูผู้สอนยังต้องใช้วิธีการต่างๆให้ผู้เรียนร้องเพลงอย่างเข้าใจความหมายและวัฒนธรรมเจ้าของภาษา และใช้เพลงเป็นเครื่องมือเสริมประสบการณ์ต่างๆได้ด้วยตนเอง 1. เล่าเรื่องหรือสร้างเรื่องปากเปล่าเกี่ยวกับเพลงนั้น 2. เขียนเรื่องเกี่ยวกับเพลงนั้น 3. ดัดแปลงเนื้อเพลงเป็นบทสนทนาสั้นๆ 4. นำแบบประโยคที่พบในบทเพลงที่เรียนในบทที่แล้วมาเป็นตัวอย่างในการสร้างประโยคใหม่ 5. หาคำใหม่มาใช้ประโยคเดิมในบทเพลงนั้น 6. คิดหาท่าง่ายๆหรือการแสดงประกอบจังหวะง่ายๆมาใช้ประกอบ ดังนั้น สรุปได้ว่า การใช้เพลงเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ทางภาษาจะมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนมาก หากครูผู้สอนเข้าใจจุดประสงค์การสอนเพลง เลือกเพลงได้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอน


3. การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเกม

เกมเป็นหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะเกมภาษาอังกฤษซึ่งภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอยู่เสมอ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาระหว่างชาติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกการใช้เกมประกอบการสอนภาษาอังกฤษจะช่วยทำให้ผู้เรียนสนุกสนานกับบทเรียน ไม่น่าเบื่อ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกความกล้าในการใช้ภาษา ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจเมื่อนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน และช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วย ส่วนประกอบของเกมได้แก่ ชื่อเกม จุดมุ่งหมาย การแบ่งกลุ่ม อุปกรณ์ และข้อเสนอแนะในการเล่นเกมผู้สอนและผู้เล่นควรดัดแปลงแต่ละเกมให้เหมาะสมกับสภาพห้องเรียน ระดับความรู้ และความสามารถของผู้เรียนด้วยที่มา www.programmee.com


ทฤษฏีและการพัฒนาทางภาษาสำหรับครูปฐมวัย      

               เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน

ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้
จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ




Intonation

            นอกจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้ว การเรียนการออกเสียงในภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มี Intonation   แล้ว intonation คืออะไรมันก็คือเสียงขึ้นลงที่เราใช้ในเวลาพูด ถ้าสังเกตฝรั่งเวลาพูดเขาจะไม่พูดเสียงราบเรียบทั้งประโยค จะมีการขึ้น การลงของเสียง ซึ่งถ้าหากว่าเราอยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษาเราก็ต้องมารู้จักหลักการในการออกเสียงขึ้นลงเหล่านี้ นอกจากนี้ยังช่วยในการฟังภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย

โดยปกติแล้ว รูปแบบของ intonation ในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูปแบบหลักๆคือ

1. falling intonation   การลงเสียงต่ำ
2. rising intonation การขึ้นเสียงสูง

หลักการใช้คร่าวๆของแต่อันมีดังนี้ค่ะ
1. falling intonation ให้สังเกตคำที่ขีดเส้นใต้จะเป็นคำที่ลงเสียงต่ำ

1.1 ใช้กับประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ธรรมดา เช่น

  • It was quite bad.
  • I want to see him again.
1.2 ใช้สำหรับคำลงท้ายของประโยคคำถามแบบ Wh-question เช่น
  • What do you usually eat for lunch?
  • Who is that?
  • What’s it?
1.3 ใช้กับประโยคคำสั่งที่เน้น เช่น
  • Don’t make loud noise.
  • Sit down.
2. rising intonation

2.1 ใช้ลงท้ายประโยคคำถามที่เป็นแบบ yes / no question

  • Is she a teacher?
  • Have you seen him?
  • Can I see it?
2.2 ใช้กับประโยคบอกเล่าธรรมดาที่เราต้องการให้มันเป็นคำถาม เช่น
  • You like it?
  • I can’t go?
2.3 ใช้ในการแสดงการทักทาย เช่น
  • Good Morning
  • Good afternoon
  • Good evening
2.4 เวลาต้องการเกริ่นนำก่อนเข้าเนื้อหา เราสามารถพูดวลีที่เป็นการเกริ่นนำให้เป็นเสียงสูงได้ เช่น
  • As we know, Thailand is an agricultural country.
2.5 ในการพูดถึง สิ่งของที่มีหลายอย่างเป็นหมวดหมู่ เรามักขึ้นเสียงสูงทุกคำแล้วลงเสียงต่ำที่คำสุดท้าย เช่น
  • I like to eat vegetables like carrottomato, and cabbage.

ที่มา http://www.pasaangkit.com



จิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
    
            จิตวิทยาการเรียนรู้หรือจิตวิทยาการเรียนการสอน เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำเอาหลักจิตวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ โดยมีขอบข่ายที่สำคัญ 3 ประการคือศึกษาถึงธรรมชาติของการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ตลอดถึงธรรมชาติของการคิด การจำ และการลืม
ศึกษาถึงเชาวน์ปัญญา ความถนัด ความสนใจ และทัศนคติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการเรียนรู้
ศึกษาถึงบุคลิกภาพ การปรับตัว และวิธีการปรับพฤติกรรม
การนำเสนอจิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในเอกสารเล่มนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอเฉพาะในส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย 3 ประการดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของการศึกษาจิตวิทยาการเรียนรู้ การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อให้เข้าใจในพฤติกรรมของเด็กแต่ละวัยและสามารถจัดประสบการณ์ ให้แก่เด็กได้อย่างสอดคล้อง เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้านตลอดจน รู้วิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ครูเข้าใจในการเตรียมบทเรียน วิธีการสอน วิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กเพื่อช่วยให้ครูได้นำเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษามาพัฒนาให้เด็ก มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น การคิด ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯนักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ภาษา
ไว้หลายทฤษฎี เช่นทฤษฎีของนักพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีสภาวะติดตัวโดยกำเนิด ทฤษฎี ของนักสังคมศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและทฤษฎีของนักจิตวิทยาภาษาศาสตร์ ซึ่งทุกทฤษฎีสรุปได้ว่า การเรียนรู้ทางภาษาเกิดจากความพร้อมทางด้านร่างกาย สติปัญญา การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การเสริมแรง พัฒนาการทางภาษาเกิดขึ้นจากความพึงพอใจแห่งตน การเลียนแบบ การได้รับการเสริมแรง ฯลฯ พัฒนาการทางภาษาของเด็กในระยะแรกประมาณ 1 เดือน เด็กสามารถจำแนกเสียงต่าง ๆ ได้ และจะพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จนประมาณ 4 – 5 ปีเด็กจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ได้แก่ วุฒิภาวะ สิ่งแวดล้อม สถานภาพทางสังคม ฯลฯ อย่างไรก็ตามเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ภาษาได้ดี เมื่อเด็กมีความพร้อม 

ที่มา  https://blog.eduzones.com/moobo/148061



 หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย     

  กีเซล (Gesell)
• พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
• การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
• ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
• จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
• จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
ฟรอยด์ (Freud) 
ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
• จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากจ่ายไปหายาก
• จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
 อีริคสัน (Erikson) 
 • ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู
• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ
เพียเจท์ (Piaget) 
• พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
• พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
• จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
• จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
• จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม
ดิวอี้ (Dewey)
• เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อน ครู
• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ
สกินเนอร์  (Skinner) 
• ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
• ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน
เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) 
• ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
• เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
• เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
เฟรอเบล (Froeble) 
• ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
• การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
• จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี
ที่มา http://dusita767.blogspot.com/


ความหมายของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย

การศึกษาปฐมวัยหมายถึง
             การศึกษาปฐมวัยคือการจัดการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาการในเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง8ขวบหรือชั้นประถมศึกษาปีที่3การจัดการเด็กในที่นี้รวมถึงการจัดการศึกษาทางเป็นทางการ(formal group settings )และการจัดการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ(informal group  settings)เพราะการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยดั้งกล่าวถือเป็นรากฐานของการเรียนรู้ในอนาคต

ประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย           
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เราได้ทราบถึงการใช้ภาษาในการพูดและการเขียนและหลักในการใช้คำในการอ่านและการพูด ทำให้สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
๑. ทักษะการใช้ภาษา
๒. ลักษณะการใช้ภาษาในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
๓. การอ่าน และการฟัง
ที่มา  http://dusita767.blogspot.com/


ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย
            ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยคือการที่ครูจะสอนได้ดีนั้นจำเป็นต้องศึกษาเด็ก ยิ่งกว่านั้นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการทางสมองมนุษย์ยั้งเน้นความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยโดยเฉพาะในช่วงของ5 ของปีแรกของชีวิตว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ และเด็กจำเป็นต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้ดูแลตั้งแต่แรกเกิดโดยการให้ความรัก การโอบกอด สัมผัส พูดคุย และเล่นกับเด็กเพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ การเข้าใจพัฒนาเด็กส่งผลดีต่อครูผู้สอนหลายประการ ผลดีประการหนึ่งคือ ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น ยังสามารถวางแผนหลักสูตร การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้มากขึ้นศักยภาพ การเข้าใจพัฒนาเด็กส่งผลดีต่อครูผู้สอนหลายประการ ผลดีประการหนึ่งคือ ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น ยังสามารถวางแผนหลักสูตร การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้มากขึ้น
            เมื่อตระหนักว่าเด็กมีความสำคัญต่อประเทศ ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง หรือที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเด็กได้ปฏิบัติต่อเด็กสมกับความสำคัญของเขาหรือยัง โดยเฉพาะพ่อแม่ ครู อาจารย์ เพราะว่าเด็กที่เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีนั้นต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีควบคู่กันไปถือว่าการอบรมเลี้ยงดูนั้นมีความสำคัญมาก
ที่มา http://dusita767.blogspot.com/


ความสำคัญของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย

            ความสำคัญของภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทยและคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แคท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แคท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ที่มา https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs