วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559




การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ

เสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ

เสียงพยัญชนะที่ยากต่อการออกเสียงของคนไทยคือ CH, G, L, R, S, SH, TH, V, W, X, และ Z
เสียงพยัญชนะส่วนใหญ่จะเป็นไปตามที่มีการเรียนการสอน โดยเสียงบางคำจะมีการดัดแปลงให้ง่ายต่อการออกเสียง หรืออาจจะมีการอ่านตาม ภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษ เสียงพยัญชนะทั้งหมดเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้
  • B -- บ ใบไม้ เช่น boy บอย
  • C -- เป็นได้ทั้ง ซ โซ่ และ ค ควาย และ ก ไก่ โดยส่วนมากจะใช้
    • --CA, CO, CU -- ค ควาย เช่น car คาร์, come คัม, cute คิ้วท์
    • --CE, CI, CY -- ซ โซ่ เช่น cell เซลล์, city ซิตี้, cylinder ไซลินเดอร์
    • --SC -- ก ไก่ เช่น scar สการ์, screen สกรีน, scuba สกูบา
    • อย่างไรก็ตาม มีหลายคำที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อกำหนด
  • D -- ด เด็ก เช่น dog
  • F -- ฟ ฟัน เช่น fun
  • G -- จะไม่มีเสียงในภาษาไทย แต่จะเป็นเสียงควบของ ก ไก่ กับ ง งู หรือ เสียงควบของ จ จาน กับ ย ยักษ์
    • -- GA, GE, GO, GU - ออกเสียง ก-ง เช่น gas แก๊ส, get เก็ท, golf กอล์ฟ, gun กัน
    • -- GI - ออกเสียง จ-ย เช่น gigabyte จิกะไบต์ กับ gigantic ไจแกนติค
  • H -- อ่านว่า เอช (ในอังกฤษอเมริกัน) ออกเสียง เหมือน ห หีบ และ ฮ นกฮูก เช่น hello เฮลโล
  • J -- จ จาน เช่น jet เจ็ท
  • K -- เป็นได้ทั้ง ค ควาย และ ก ไก่ และเสียงเงียบ
    • เสียงต้น -- ค ควาย เช่น kilogram คิโลแกรม
    • SK -- ก ไก่ เช่น sky สกาย ski สกี
    • KN -- เสียงเงียบ (ไม่ออกเสียง) เช่น knee, นี knock, น็อค know โนว์
  • L -- คล้ายกับ ล ลิง สำหรับเสียงต้น และคล้ายกับเสียง ว แหวน สำหรับเสียงสะกด
    • เสียงต้น เช่น lance แลนซ์, look ลุก
    • เสียงสะกด เช่น mill มิว, oil โออิว
      • โดยเสียงของ ตัวอักษร L ออกเสียงโดยการ ลากลิ้นไปแตะ โคนฟัน เหมือนคำว่า mill อ่านว่า มิว แล้วลากลิ้นไปแตะที่โคนฟันซี่กลางด้านบน
  • M -- ม ม้า เช่น money มั้นนี่
  • N -- น หนู เช่น no โน
  • P -- พ พาน หรือ ป ปลา
    • เสียงต้น -- พ พาน เช่น pest, เพสท์ Peter พีเทอร์
    • SP -- ป ปลา เช่น span สแปน, spark สปาร์ค, sport สปอร์ต
  • Q -- ค ควาย หรือ ก ไก่
    • QU -- ค ควาย ควบ ว แหวน เช่น queen ควีน
    • SQU -- ก ไก่ ควบ ว แหวน เช่น squid สกวิด, square สแกวร์
  • R -- คล้ายกับ ร เรือ สำหรับเสียงต้น และคล้ายกับคำว่า เออร์ สำหรับเสียงท้าย
    • เสียงต้น เช่น row โรว์
    • เสียงกลางประโยค เช่น born บอร์น
    • เสียงท้าย เช่น fire ไฟเออร์ เสียง R
      • โดยเสียงของ ตัวอักษร R ออกเสียงโดยการ ลากลิ้นไปแตะที่เพดานปากด้านบนส่วนหลัง เหมือนคำว่า fire อ่านว่า ไฟ แล้วลากลิ้นไปแตะที่เพดานปาก เสียง เออร์ จะออกมาคล้ายกับเสียง ไฟเออร์
  • S -- เสียงต้น ออกเสียง ส.เสือ ถ้าเป็นเสียงลงท้าย ออกเหมือนเสียง ซือออออ ให้เสียงเหมือนลมผ่านช่องกระจก โดยพูดให้เพียงแค่ลมออกจากปาก และลำคอไม่สั่น เป็นเสียงแบบ voiceless)
    • เสียงต้น S -- sock ซ๊อกก์
    • เสียงท้าย S -- box บ็อกซือ
  • T -- ท ทหาร หรือ ต เต่า
    • เสียงต้น -- ท ทหาร เช่น tank แทงก์
    • ST -- ต เต่า เช่น street สตรีท, star สตาร์
  • V -- เสียงเหมือน ว แหวน โดยเป็นเสียงที่ใกล้เคียง กับ V F และ B พูดโดยการกัดริมฝีปาก ก่อนออกเสียง ว แหวน เช่น vail เวลล์
  • W (ดับเบิ้ล ยู แต่พูดเร็วเร็ว ก็กลายเป็น ดับ-บ-ลิว) -- เสียงเหมือน ว แหวน แต่มีเสียงก้องในปาก พูดโดยการ ทำปากจู๋ก่อนแล้วตามด้วยออกเสียง ว.แหวน เช่น wow วาว
  • X -- เสียงต้น เป็นเสียง ส เสือ และ ซ โซ่ เสียงท้าย เหมือน ค ควาย รวมกับ เสียง เอส
    • เสียงต้น -- xylem ไซเร็ม
    • เสียงท้าย -- box บ็อกซือ
  • Y -- ย ยักษ์ เช่น young ยัง, you ยู
  • Z -- (อ่านว่า ซี ในอังกฤษอเมริกัน หรือที่อ่านกันว่า เซท ในอังกฤษสำเนียงอื่น - แต่คนไทยออกเสียงว่า แซด) เสียงเหมือน ส เสือ และ ซ โซ่ เช่น zebra ซี-บร่า
    • เสียงอักษร Z ต่างกับ ตัวอักษร C โดยเวลาพูดจะมีการสั่นของเสียง (voice sound) โดยเมื่อเอามือจับที่ใต้ฟันล่าง แล้วพูดเสียงจะมีการสั่นของลำคอ เหมือนกับการออกเสียง บ ใบไม้ กับ พ พาน หรือ เสียง ด เด็ก กับ ท ทหาร (z, บ ใบไม้, พ พาน เป็น เสียงสั่น)
  • ตัวอักษรCH ออกเสียงได้ 3 แบบ ได้แก่ /CH/ /SH/ สำหรับคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส เช่น champaign, Chicago /K/ สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ การศึกษา ดนตรี ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษากรีก เช่น chaos, stomach, architecture
  • CH -- เสียง ช ช้าง เหมือนเสียง ท ทหาร ตามด้วยเสียง ช ช้าง พูดโดยการ เอาลิ้นแตะโคนฟัน แล้วพูด เฉอะ
  • SH -- เสียง ช ช้างปกติ
    • คำที่เสียงแตกต่างกัน ในขณะที่เสียงไทยใกล้เคียงกัน เช่น ship chip, sheep cheap, shop chop ทดสอบที่โปรแกรมทดสอบ1
  • CH -- เสียง ค ควาย ก็ได้ ถ้าคำที่ใช้ มาจาก กรีก เป็นในทางความหมาย ทาง ประวัติศาสตร์ ดนตรี การแพทย์ การศึกษา ประมาณนี้ เช่น
    • chaos เคออส ความวุ่นวาย stomachache สโตมัคเอค chorus คอรัส
  • TH -- เสียงนี้ ไม่มีของไทย แต่ใกล้เคียงกับ /ด/ /ต/ /ส/ (เชื่อมั้ยละ ว่ามันใกล้กับ ส) เวลาออกเสียง เริ่มแรก กัดลิ้นเบาเบา แล้วพูด เช่น * THAT หรือว่า BATH พูดแล้วตอนจบกัดลิ้น THANK YOU กัดลิ้นแล้วพูดดู ไม่ใช่ แต้งกิ้ว แต่มันจะเป็นเสียง ผสม /ต//ซ/

เสียงสระในภาษาอังกฤษ

สระในภาษาอังกฤษ ประกอบไปด้วย ตัวอักษร A E I O U แต่ในการใช้สระ จะมีการใช้ผสมกันดังต่อไปนี้
  • ee -- เสียงอี เช่น ฟีด feed
  • i -- เสียงอิ เช่น ฟิน fin
  • i -- เสียงไอ เช่น ไบ bi (ถ้าไม่มีตัวอะไรต่อท้าย ส่วนมากจะเป็น) ไอ แต่บางทีก็ไม่ใช่
  • a_e -- เสียง เอ เช่น เฟด fade
  • e -- เสียง เอะ เช่น เฟ็ด fed
  • a -- เสียง a มันจะเป็นเสียงกึ่งระหว่าง แอะ กับ อะ วิธีออกเสียง ให้อ้าปากกว้างสุด แล้วพูด เป็นเสียงระหว่างเสียง แฟด กับ ฟัด fad
  • u -- เสียง เออะ เช่น เคอะ-พ cup
  • o -- คล้ายเสียง เออะ แต่อ้าปากกว้าง cop
  • oo -- boot เสียงสระอู
  • ull -- bull เสียงที่อยู่ระหว่าง สระ อุ กับสระอู
  • o_e -- bone เสียง โอ
  • i_e -- fine เสียง ไอ
  • oi -- coin เสียง ออย
  • ou -- round เสียง อาว
นอกจากนี้ สระที่อ่านออกเสียงแปลกจากสระทั่วไป เนื่องจากมาจาก ภาษาอังกฤษเดิม หรือ ภาษาอื่น เช่นฝรั่งเศส หรือเยอรมัน เช่น
  • come -- อ่านเหมือน cum เป็นภาษาอังกฤษเดิม ที่ มาจากคำว่า cume
  • dove -- อ่านว่า /ดัฟ/ มาจาก duv สำหรับ คำที่เป็นอดีตของ dive (dove) อ่านว่า โดฟ
  • entree -- /อองเทร/ อาหารมื้อหลัก มาจากภาษาฝรั่งเศส
  • hors d'œuvre -- ออร์เดิร์ฟ
คำที่มาจากภาษาอื่น ในปัจจุบันคนอเมริกันทั่วไปยังมีการใช้ผิดกันเกิดขึ้น


อักษรเงียบ (Silent Letters)

คำในภาษาอังกฤษมากกว่า 60% มีตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง หรือ อักษรเงียบ (อังกฤษ:Silent Letters) ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของตัวอักษรในคำต่างๆ ที่ไม่ต้องออกเสียง
  • A
    • ea- เช่น treadle (เทร็ดเดิล) bread (เบร็ด) thread (เธร็ด)
    • คำที่ลงท้ายด้วย -cally ทั้งหลาย (ซึ่ง al จะไม่ออกเสียง) เช่น technically (เทค-นิค-ลี) logically (ลอ-จิค-ลี) politically (โพ-ลิ-ติค-ลี)
  • B
    • -mb เช่น lamb (แลม) bomb/bomber (บอม/บอมเมอร์) comb (คม) numb (นัม) thumb (ธัม) tomb (ทูม)plumb/plumber พลัม/พลัมเมอร์
    • -bt เช่น debt (เด็ท) doubt (เดาท์) subtle (ซัทเทิล)
  • C
    • sc- เช่น scissors (ซิสเซอร์ส) science (ไซแอนซ์) scent (เซนท์) muscle (มัสเซิล)
    • คำอื่นๆ เช่น acquit (อะควิท) acquire (อะไควร์) czar (ซา/ซาร์) yacht (ย็อท/ย้าท)victual (วิทัล ) indict/indictable (อินไดท์/อินไดเทเบิล) Tucson (ทูซอน) Connecticut (คอนเนทิคัท)
  • D
    • -dg- เช่น edge (เอ็จ) bridge (บริจ) ledge (เล็จ)
    • -nd- เช่น handkerchief (แฮงเคอชิฟ) handsome (แฮนซัม) landscape (แลนสเกป) sandwich (แซนวิช) Windsor (วินเซอร์) รวมทั้ง grand ต่างๆ ที่เป็นปู่ย่าตายาย เช่น grandma/grandmother grandpa/grandfather grandson/granddaughter และ Wednesday (เวนสเดย์ ตัว e ก็เงียบด้วย)
  • E
    • ส่วนใหญ่ที่ตามท้ายตัวสะกดจะไม่ออกเสียง เช่น fame (เฟม) serve (เซิฟ/เซิร์ฟ) rite (ไรท์) more (มอร์) clue (คลู) vogue (โว้ก) corpse (คอร์พส)
    • คำกริยาหลายๆ คำที่ลงท้ายด้วย -en พอเติม -ing หรือ -er ตัว e (และตัว n) ก็จะไม่ออกเสียง เช่น fastening/fastener (ฟาสนิง/ฟาสเนอร์) whitening/whitener (ไวท์นิง/ไวท์เนอร์) softening/softener (ซอฟนิง/ซอฟเนอร์)
  • F -- halfpenny (เฮพนี)
  • G
    • -gn เช่น align (อะไลน์) design (ดีไซน์) gnash (แนช) reign (เรน) champagne (แชมเพน) resign (รีไซน์ แต่ออกเสียงตัว g ใน resignation เรสิกเนชัน)
    • -gh (ซึ่งจะไม่ออกเสียงทั้ง g และ h) เช่น light (ไลท์) high (ไฮ) eight (เอท) straight (สเตรท)
    • คำอื่นๆ เช่น diaphragm (ไดอะแฟรม)
  • H
    • wh- เช่น what (ว็อท) where (แวร์) when (เว็น) whisper (วิสเพอร์) whistle (วิสเซิล)
    • xh- เช่น exhaust (เอ็กซอสต์) exhibition (เอ็กซิบิชัน) exhibit (เอ็กซิบิท)
    • h นำหน้าสระ honor/honour (ออเนอร์) honest (ออเนสต์) hour (อาวร์) heir (แอร์)
    • คำอื่นๆ เช่น ghost (โกสต์) khaki (กากี) rhyme (ไรม์) school (สคูล) Thames (เทมส์) Pooh (พู)
  • I -- business (บิสเนส)
  • J -- ไม่มี
  • K -- kn- เช่น knee (นี) know (โน) knight (ไนท์) knowledge (นอเล็จ)
  • L
    • -al- เช่น talk (ทอค) walk (วอค) chalk (ชอค) calf (คาฟ) half (ฮาฟ) psalm (ซาม) calm (คาม) salmon (แซมอน) almond (อามอนด์)
    • -ol- เช่น folk (โฟค) yolk (โยค)
    • could/should/would (คู้ด/ชู้ด/วู้ด)
  • M -- mnemonic (นีโมนิค) grammar (แกรมาร์ ออกเสียงตัว m แค่ตัวเดียว)
  • N
    • -mn เช่น autumn (ออทัม) condemn (คอนเด็ม) damn (แดม) hymn (ฮิม) column (คอลัม แต่ออกเสียงตัว n ใน columnist คอลัมนิสต์)
    • คำอื่นๆ เช่น monsieur (เมอซู)
  • O -- leopard (เล็พเพิด) jeopardy (เจ็พเพอดี)
  • P
    • pn- เช่น pneumatic (นิวแมติก) pneumonia (นิวมอเนีย)
    • ps- เช่น psychology (ไซโคโลจี) pseudo (ซูโด) psalm (ซาม) corps (เอกพจน์อ่าน โค พหูพจน์อ่าน โคส)
    • pt- เช่น ptomaine (โทเมน) Ptolemy (โทเลมี) receipt (รีซีท)
    • pb- เช่น cupboard (คับบอร์ด) clapboard (คลับบอร์ด) Campbell (แคมเบล)
    • คำอื่นๆ เช่น coup (คู) raspberry (ราสเบอรี)
  • Q -- ไม่มี
  • R
    • diarrhea (ไดอะเรีย ออกเสียง r ตัวเดียว)
    • ใน British English ตัว r ที่อยู่หน้าพยัญชนะหรือสระตัวอื่น จะเป็นอักษรเงียบ เช่น card (ค้าด) fork (ฟ้อค) แต่ใน American English จะออกเสียง (คาร์ด ฟอร์ค)
  • S
    • -sl เช่น isle (ไอล์) island ไอแลนด์ aisle (ไอล์ เหมือน isle เลย a ตัวแรกก็เงียบด้วย)
    • คำอื่นๆ เช่น Illinois (เอ็ลลินอย) bourgeois (เบอร์จัว)viscount (ไวเคานท์) fracas (เฟรคา แต่คำนี้อเมริกันออกเสียงตัว s ด้วย จะออกเป็น เฟรคัส) debris (เดบรี) apropos (อัพโพรโพ)
  • T
    • st- เช่น listen (ลิสซึน) fasten (ฟาสเซน) castle (คาสเซิล) rustle (รัสเซิล) asthma (แอสมา) Christmas (คริสต์มาส) tsunami (ซูนามิ)
    • -et เช่น ballet (บัลเล) buffet (บัฟเฟ) gourmet (อังกฤษ กัวเม อเมริกัน กัวร์เม)
    • ft- เช่น soften (ซ็อฟเฟน) often (อ็อฟเฟน แต่คำนี้ออกเสียงตัว t ด้วยก็ได้ อ็อฟเทน)
    • rapport (รัพพอร์)
  • U -- u ที่นำหน้าสระ ไม่ออกเสียง เช่น guard (กาด/การ์ด) guess (เกส) build (บิลท์) guide (ไกด์) four (ฟอ/ฟอร์ เหมือน for) tongue (ทังก์) colleague (คอลลีก) cheque (เช็ค)
  • V -- ไม่มี
  • W
    • wr- เช่น write (ไรท์) wrong (รอง) wrist (ริสต์)
    • sw- เช่น sword (ซ้อด) answer (อานเซอร์)
    • wh- เช่น whore (ฮอร์) whole (โฮล) who (ฮู)
    • rw- เช่น Norwich (นอริช) Warwick (วอริค)
    • คำอื่นๆ เช่น two (ทู) Greenwich (กรีนนิช)
  • X -- faux pas (โฟ พา) Sioux (ซู)
  • Y -- say (เซ) mayor (เมเออร์/แมร์)
  • Z -- rendezvous (รอนเดวู) laissez-faire (ลัซเซแฟร์) chez (เช)


เสียง พยัญชนะ ท้ายประโยค

เสียงท้าย -s, -es, -ed
  • -s ก็ตามด้วย เสียง s ปกติ คือ ลากเสียง s ออกไปตอนจบประโยค
  • -es เจ้าของภาษาจะออกเสียง /อิส/ แต่ตามความคุ้นเคยของคนไทยมักออกเสียงชัดเจนว่า /เอส/ อย่างเช่น
    • boxes -- บ้อกซิส (เจ้าของภาษา) บ๊อกเซส (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
    • glasses -- แกล็สซิส (เจ้าของภาษา) กลาสเสส (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
  • -ed อันนี้มีสองแบบ ถ้าตามด้วย ตัว T หรือ D จะเสียง /เอ๊ด/ หรือ /อึ๊ด/ แต่ถ้าไม่ใช่ให้ ออกเสียง /เดอะ/
    • reloaded -- รีโหลดดิด (เจ้าของภาษา) ลีโล้ดเด๊ด (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
    • wanted -- ว้อนถิด (เจ้าของภาษา) ว้อนเต๊ด (สำเนียงสะดวกลิ้นไทย)
    • notified -- ก็ไม่มีเสียง ed แต่จะมีเสียง d ในลำคอ

เสียงพยัญชนะท้าย

  • หลายๆคำที่มีพยัญชนะท้ายจะมีเสียงเบาๆที่ไม่ควรละ
    • เสียง -nd เช่น finding ออกเสียง ฟาย(อืน)ดิ่ง หรือ บางครั้งอาจได้ยิน ฟายนิ่ง
    • เสียง -ne เช่น line ออกเสียง ละอิน (รวบเป็นหนึ่งพยางค์) ต่างจาก lie ออกเสียง ลาย
    • เสียง -le เช่น mobile ออกเสียง โม-บะอิล (สองพยางค์) หรือ บางครั้งอาจได้ยิน โม-บึล
    • เสียง -le เช่น file ออกเสียง ฟะอิล (รวบเป็นหนึ่งพยางค์) หรือ บางครั้งอาจได้ยิน ฟาว ต่างจาก fine ออกเสียง ฟาย(อืน) หรือ fire ออกเสียง ฟายเออ


การเทียบสระตามเสียงสระไทย
เสียงสระไทยเสียงสระอังกฤษตัวอย่าง
อั, อะ, อาaBancha บัญชา Rama  รามา       Pracha  ประชา
อิiPichit  พิชิต       Prasit  ประสิทธิ์
อีee, iThawee  ทวี     Mani  มานี
อึueSomnuek  สมนึก     Banbueng  บ้านบึง
อืueChuanchuen  ชวนชื่น    Boonyuen  บุญยืน
อุu, ooPrathum  ประทุม    Puttida  พุทธิดา
อูooJaroon  จรูญ    Manoon  มนูญ
เอะ, เอa, eSuthep  สุเทพ    Wiradet  วีรเดช
แอะ, แอaeSaengthip  แสงทิพย์    Dindaeng  ดินแดง
โอะ, โอoSopa  โสภา    Sopon  โสภณ
เอาะ, ออo, orSomporn  สมพร    U-dorn  อุดร
อัวะ, อัวuaBuapa  บัวพา    Chuanpit  ชวนพิศ
เอียะ, เอียia, ieSamniang  สำเนียง    Chiengsaen  เชียงแสน
เอือะ, เอือueDonmueng  ดอนเมือง    Rungrueng  รุ่งเรือง
อำ, อัมamAmporn  อำพร    Chamlong  จำลอง
อัน, รรณanAnchali  อัญชลี    Worawan  วรวรรณ
เอา, อาวaoSaowapa  เสาวภา    Daojai  ดาวใจ
ไ,  ใ,  อัยaiChanchai  ชาญชัย    Winai  วินัย
เอย, เอียว, เอือยuai, oeiChaluai  เฉลียว    Loei  เลย
อิว, อิ้ว, อิ๋วiuJiu  จิ๋ว    Bantiu  บ้านติ้ว
อวย, อ้วยuayPuay  ป๋วย  Kluaymai  กล้วยไม้
เอะ, เออer, ir, ur, oeTherdthai  เทอดไทย  Amphoe  อำเภอ

                                                                    











ที่มา http://aunchaleegosa.blogspot.com/


Intonation
            นอกจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้ว การเรียนการออกเสียงในภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มี Intonation   แล้ว intonation คืออะไร? มันก็คือเสียงขึ้นลงที่เราใช้ในเวลาพูด ถ้าสังเกตฝรั่งเวลาพูดเขาจะไม่พูดเสียงราบเรียบทั้งประโยค จะมีการขึ้น การลงของเสียง ซึ่งถ้าหากว่าเราอยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษาเราก็ต้องมารู้จักหลักการในการออกเสียงขึ้นลงเหล่านี้ นอกจากนี้ยังช่วยในการฟังภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย
โดยปกติแล้ว รูปแบบของ intonation ในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูปแบบหลักๆคือ
1. falling intonation  
การลงเสียงต่ำ
2. rising intonation
การขึ้นเสียงสูง
หลักการใช้คร่าวๆของแต่อันมีดังนี้ค่ะ
1. falling intonation ให้สังเกตคำที่ขีดเส้นใต้จะเป็นคำที่ลงเสียงต่ำ
1.1
ใช้กับประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ธรรมดา เช่น
  • It was quite bad.
  • I want to see him again.
1.2 ใช้สำหรับคำลงท้ายของประโยคคำถามแบบ Wh-question เช่น
  • What do you usually eat for lunch?
  • Who is that?
  • What’s it?
1.3 ใช้กับประโยคคำสั่งที่เน้น เช่น
  • Don’t make loud noise.
  • Sit down.
2. rising intonation
2.1
ใช้ลงท้ายประโยคคำถามที่เป็นแบบ yes / no question
  • Is she a teacher?
  • Have you seen him?
  • Can I see it?
2.2 ใช้กับประโยคบอกเล่าธรรมดาที่เราต้องการให้มันเป็นคำถาม เช่น
  • You like it?
  • I can’t go?
2.3 ใช้ในการแสดงการทักทาย เช่น
  • Good Morning
  • Good afternoon
  • Good evening
2.4 เวลาต้องการเกริ่นนำก่อนเข้าเนื้อหา เราสามารถพูดวลีที่เป็นการเกริ่นนำให้เป็นเสียงสูงได้ เช่น
  • As we know, Thailand is an agricultural country.
2.5 ในการพูดถึง สิ่งของที่มีหลายอย่างเป็นหมวดหมู่ เรามักขึ้นเสียงสูงทุกคำแล้วลงเสียงต่ำที่คำสุดท้าย เช่น
  • I like to eat vegetables like carrottomato, and cabbage.


ที่มา http://www.pasaangkit.com



การเน้นเสียง (stressing)
การเน้นเสียง (stressing)
การเน้นเสียงในภาษาอังกฤษทำได้โดยการทำให้เสียงดังขึ้น หรือทำให้เสียงสูงขึ้น
การเน้นเสียงของคำ
คำศัพท์แต่ละคำ จะมีการเน้นเสียงในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับคำ สามารถตรวจสอบได้โดยการเปิดดิกชันนารี ตัวอย่างเช่น
(ตัวใหญ่คือเสียงที่เน้น)
  • Option --/OP-tion/ เสียงเหมือน อ้อป-ชัน
  • canal -- /ca-NAL/ เสียงเหมือน คะ-แนล (ลากเสียง แนล)
  • deposit -- /de-PO-sit/ เสียงเหมือน ดิ-พ้อ-สิท
  • spaghetti --/spa-GHET-ti/ สเปอะ-เก๊ต-ทิ อันนี้แปลกหน่อย เน้นตัวที่สาม
การเน้นเสียงในประโยค
ในประโยคจะมีการเน้นเสียงหลายจุด ยกเว้นคำที่เป็น pronoun และ preposition และคำท้ายสุดของประโยคจะมีการเน้นเสียงหนักสุด ที่เรียกว่า เสียงเน้นหลัก(Primary Stress) เช่น
  • If you don't want to add a poll to your topic.
    • If you don't want to add a poll to your topic.
  • I don't think that control is in OPEC's hands.
    • อ่านเป็น don't think that control is in OPEC's hands.
เสียงเชื่อม (Linking)
เสียงเชื่อมเป็น เสียงต่อเนื่อง ระหว่างคำที่อ่านต่อเนื่องกัน โดยเสียงสะกดของคำแรก จะออกเสียงต่อเนื่องมาเป็นเสียงพยัญชนะต้นของคำที่สอง ตัวอย่างเช่น
  • It's a book - จะออกเสียงเหมือน /its-sa-book/ อ่าน อิทซ์-ซะ-บุ้ค ไม่ใช่ อิทซ์-อะ-บุค
  • Can you add a poll? - จะออกเสียงเหมือน /can-you-add-da-poll/ อ่าน แคน-ยู-แอด-ดะ-โพล โดยคำว่า อะ จะออกเสียงเป็น ดะ เนื่องจากเสื่องเชื่อมจากคำสะกดของคำหน้า
  • Weekend - จะออกเสียงเหมือน /week-kend /อ่าน วีคเค็นด์ โดยคำว่า เอ็นด์ จะออกเสียงเป็น เค็นด์ เนื่องจากเสื่องเชื่อมจากคำสะกดของคำหน้า
  • L.A. - จะออกเสียงเป็น /L-la /อ่าน แอว เล ไม่ใช่ แอว เอ
  • Vineyard (ไร่องุ่นทำไวน์) - จะออกเสียงเป็น /Vin-neard/อ่าน ฝวินเนียร์ด ไม่ใช่ วายยาด
  • bald eagle (นกอินทรีย์หัวขาว) - จะได้ยินเป็น /bal-dea-gle/ บอว์ ทีเกิ้ล หรือ บอว์ ดีเกิ้ล
เสียงสูงต่ำ ท้ายประโยค
เสียงสูงต่ำท้ายประโยคขึ้นอยู่กับความหมายของประโยค โดย
  • ประโยคธรรมดา ลงเสียงต่ำ
    • I like coffee ลงเสียงต่ำที่คำว่า coffee อ่าน คอป-ฟี
  • ประโยคคำถาม ที่ถามว่า ใช่หรือไม่ ขึ้นเสียงสูง (รวมถึงประโยคที่เป็น tag question)
    • Do you like coffee? ขึ้นเสียงสูงตรงคำว่า cofee อ่าน คอป-ฟี้
  • ประโยคคำถาม ที่ถามหาคำตอบ ลงเสียงต่ำ
    • What do you like ? ลงเสียงต่ำตรงคำว่า like อ่าน ไหลค์
สำหรับประโยคเดียวกัน ที่ออกเสียงต่างกัน จะทำให้ความหมายต่างกัน เช่น
  • Do you like tea or coffee?
    • ถ้าพูด คำว่า coffee ลงเสียงต่ำ ประโยคนี้จะมีความหมายว่า "อยากได้ ชาหรือกาแฟ (โดยให้เลือกเอา)"
    • ถ้าพูด คำว่า coffee ขึ้นเสียงสูง ประโยคนี้จะมีความหมายว่า "อยากได้ ชาหรือกาแฟไหม (โดยถามว่า เอาหรือไม่เอา)"

ที่มา http://aunchaleegosa.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น